ปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการเรียนภาษานั่นก็คือการจำคำศัพท์ โดยเฉพาะการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะเป็นภาษาสากลโลกที่เรามักจะได้เรียนเป็นภาษาที่สอง หลาย ๆ คนอาจจะรู้สึกกังวลกับการต้องมานั่งจำคำศัพท์ให้ได้ หรือทำอย่างไรก็จำคำศัพท์นั้นไม่เข้าหัวสักที ไม่ว่าจะจดโน้ตหรือท่องออกเสียงบ่อยครั้งก็ดูเหมือนจะไม่ช่วยทำให้จำคำศัพท์ได้ดีขึ้น ดังนั้นบทความนี้จะมาแนะนำวิธีการจำคำศัพท์แบบ Mnemonics หนึ่งในทริคการจำคำศัพท์ที่คุณควรรู้ให้ได้ทราบกัน
หัวข้อที่น่าสนใจในบทความนี้
Mnemonics Trick คืออะไร?
Mnemonics หรือ นีโมนิคส์ คือ วิธีการช่วยหรือเทคนิคการจำที่ทำให้เราจดจำบางสิ่งบางอย่างได้ในระยะยาว โดยเกิดจากการหาลักษณะพิเศษของสิ่งนั้น ๆ แล้วเชื่อมโยงเป็นรูปแบบที่จะทำให้เรานึกขึ้นได้หรือมีอาการ “นึกออกแล้ว!” ได้แบบง่ายดาย หากใครยังนึกไม่ออกว่าทำอย่างไร ให้ลองนึกถึงกลอนไม้ม้วนอย่าง 20 ม้วนจำจงดี ที่รวบรวมคำศัพท์ที่ใช้ไม้ม้วน เพื่อให้คนไทยได้ไม่สับสนกับการใช้ไม้ม้วนและไม้มลาย หรือ วิธีจำไตรยางศ์ (อักษรสามหมู่ สูง กลาง ต่ำ) อย่าง “ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง” ก็นับเป็นการจำแบบนีโมนิคส์เช่นกัน ซึ่งเทคนิคทำให้สามารถจดจำได้ในระยะยาว ไม่ลืมหลังท่องแน่นอน แต่หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วภาษาอังกฤษล่ะ? ท่องจำยังไงดี? บทความนี้จะมาช่วยแนะนำเทคนิคแบบนีโมนิคส์ที่สามารถลองนำไปปรับใช้กับภาษาอังกฤษได้ไม่ยากให้อ่านกันค่ะ
ทริคแบบ Mnemonics ลองจำนำไปใช้ดู
Mnemonics มีหลายประเภท โดยในบทความนี้จะยกประเภทที่ผู้คนนิยมใช้มาให้ลองทำตามดู ซึ่ง Mnemonics ที่ได้รับความนิยมสูงสุด 4 ประเภท มีดังนี้
- Acronyms Mnemonics
– เป็นวิธีการจำจากตัวย่อ ยกตัวอย่างเช่น วิธีการจำสีรุ้งกินน้ำ เรามักจะรู้กันดีว่ารุ้งกินน้ำจะต้องมี 7 สีด้วยกัน แต่จะเรียงลำดับสีของมันยังไงดีล่ะ? ขอแนะนำให้ลองจำเป็นคำว่า “Roy G. Biv” ซึ่งดูเผิน ๆ แล้วจะคล้ายชื่อคน โดย Roy G. Biv เป็นคำที่นำอักษรตัวแรกของสีรุ้งกินน้ำมาเรียงกันตามลำดับ ได้แก่ Red (แดง), Orange (ส้ม), Yellow (เหลือง), Green (เขียว), Blue (น้ำเงิน), Indigo (คราม) และ Violet (ม่วง) หรืออีกหนึ่งตัวอย่างเช่นคำว่า “OSASCOMP” ที่คนมักนิยมจำกัน สิ่งนี้ก็คือ Adjective Order หรือ ลำดับการเรียงคำคุณศัพท์ โดยเรียงจาก O – ความคิดเห็น S – ขนาด A – อายุ S – รูปร่าง C – สี O – ต้นกำเนิด M – วัสดุ P – วัตถุประสงค์ สำหรับคนที่ยังไม่แม่นเรื่องไวยากรณ์ก็สามารถจำสิ่งนี้ไปใช้ได้ หากต้องการแต่งประโยคภาษาอังกฤษ เพื่อช่วยให้เราเรียงลำดับคำคุณศัพท์ได้อย่างถูกต้องนั่นเอง - Music Mnemonics
– เป็นวิธีการจำจากจังหวะหรือเพลง ยกตัวอย่างเช่น การร้องเพลง A B C หรือ การท่องพยัญชนะ ก.ไก่ – ฮ.นกฮูก มาตั้งแต่สมัยเด็ก จะเห็นได้ว่าทั้งหลักสูตรการเรียนหรือสถาบันการศึกษาหลาย ๆ ที่ มักมีการประยุกต์เนื้อหาการสอนกับเพลงเข้าด้วยกัน เพื่อให้ง่ายต่อการท่องจำมากขึ้น สำหรับใครที่เป็นสายจับไมค์ และชื่นชอบการร้องเพลงอยู่แล้วก็สามารถลองประยุกต์เนื้อหาที่ต้องจำมาใช้กับบทเพลง จะได้จำได้แถมยังสนุกไปกับสิ่งที่เราชอบได้ด้วย - Spelling Mnemonics
– เป็นวิธีการจำแบบสะกดตัวอักษร ยกตัวอย่างเช่น การสะกดคำว่า Mississippi ที่เราสามารถประยุกต์ใช้กับ Music Mnemonics ได้ในแง่ของการสร้างทำนองเพื่อช่วยสะกดคำให้เป็น M-iss-iss-ipp-i ได้ เมื่อแบ่งคำเป็นส่วน ๆ ออกจากกันก็จะทำให้ดูสะกดคำได้ง่ายขึ้นทันที เหมาะสำหรับคนที่ไม่ถนัดสะกดคำที่มีตัวอักษรซ้ำ ๆ เยอะ - Image Mnemonics
– เป็นวิธีการจำผ่านรูปภาพ ยกตัวอย่างเช่น การที่เราจำรูปภาพหนึ่งในใจให้แม่น ๆ แล้วหาคำศัพท์มาเชื่อมโยงกับรูปภาพนั้นเข้าไว้ด้วยกัน อาจจะช่วยทำให้จำได้มากขึ้น และเมื่อนึกถึงรูปภาพนั้นคำศัพท์ก็จะตามมาด้วยเช่นกัน เหมือนเป็นการนึกขึ้นได้แบบอัตโนมัติ
เลือกใช้ Mnemonics อย่างไรดี?
นอกจากจะรู้ทริคเทคนิคการจำมากขึ้นแล้ว แต่ถ้านำไปประยุกต์ใช้ได้ไม่ดี ไม่เหมาะสม ก็อาจจะทำให้จำยากกว่าเดิม การเลือกใช้ Mnemonics ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้:
- เลือกใช้เทคนิคการจำให้เหมาะสม เหมือนกินยาให้ถูกโรค
– ก่อนกินยาก็ต้องอ่านฉลากก่อนใช้ยาเสมอ เหมือนกับการใช้เทคนิคการจำให้มีประสิทธิภาพ เช่น ถ้าเราต้องการสะกดคำศัพท์ให้ถูกต้องและแม่นยำก็ควรใช้ Spelling Mnemonics ในการช่วยจำ เพราะถ้าเราเลือกใช้เป็น Image Mnemonics ก็อาจจะทำให้สับสนได้ สิ่งที่จำเป็นรูปภาพอาจผิดเพี้ยนไปได้ หากเป้าหมายของการจำคือการจำได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ควรต้องระวังเรื่องการใช้เทคนิคการจำให้ถูกต้องเหมาะสมด้วย - ฝึกฝนเทคนิคการจำ ทำย้ำ ๆ ก็ไม่เสียหาย
– การที่เราจะใช้เทคนิคการจำก็ต้องหมั่นฝึกจำด้วยเทคนิคนั้นบ่อยครั้ง เพื่อให้เราคุ้นชินกับการจัดการข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ จะได้สะดวกต่อการจำและฝึกให้เราสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเป็นระเบียบมากขึ้นอีกด้วย การจะจดจำคำศัพท์ก็จำเป็นต้องมีการทำซ้ำ ๆ เพื่อไม่ให้ลืมเลือนไปตามกาลเวลา หลายคนอาจจะมองว่ายุ่งยากแต่ถ้าเราสามารถฝึกฝนและหมั่นเพียรในการจำแล้ว ผลลัพธ์จากความขยันก็จะตอบแทนความเหนื่อยยากแน่นอน✨ - การพูดอาจจะช่วยได้มากกว่าที่คาดคิด
– บางครั้งถ้าเราพูดเทคนิคการจำของเราออกมา จะช่วยทำให้เราจดจำเทคนิคการจำนั้น ๆ ของตัวเองได้มากขึ้นด้วยนะ บางครั้งการจดจำผ่านการพูดหรือการกระทำก็ช่วยทำให้เราจำได้มากขึ้น เพราะเกิดจากการที่เราได้ลองทำลองพูดออกมานั่นเอง ยิ่งถ้าเป็นคนที่จำสิ่งที่ตัวเองเคยพูดเคยทำไปแล้วก็จะยิ่งทำให้จำแม่นสุด ๆ แถมยังเสริมภาพลักษณ์ให้เป็นคนความจำดีด้วยนะ ลองฝึกวิธีที่ถนัดกันดูนะ😎
นอกจาก Mnemonics แล้วทำอย่างไรให้จำคำศัพท์ได้ดีขึ้นอีก?
กระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ดีไม่ได้จบอยู่ที่การจำคำศัพท์เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีกระบวนการพูด การฟัง และการเขียนที่จะช่วยทำให้พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษได้ดีและเป็นธรรมชาติมากขึ้น แม้จะมีเทคนิค Mnemonics ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษแล้วก็ตาม แต่ต้องห้ามลืมหมั่นทบทวนและฝึกฝนภาษาอังกฤษให้ครบถ้วน ครอบคลุมทุกด้านด้วย
สำหรับใครก็ตามที่กำลังตามหาวิธีพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพิ่มเติม สามารถเข้าไปอ่านบทความก่อนหน้านี้ได้เช่นกัน:
– How to Write an Essay: ทริคเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ
– เคล็ดลับอ่านข่าวภาษาอังกฤษ: ยาวไปไม่อ่าน จับใจความกันดีกว่า
– คัดมาแล้ว! รวมเว็บข่าวฝึกภาษาอังกฤษ: อ่านข่าวก็ดี ภาษาอังกฤษก็ได้
– ทริคฝึกภาษาอังกฤษ: ใช้เว็บไซต์ช่วยเช็คไวยากรณ์
ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษได้อย่างรอบด้านที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะด้านการพูดและการฟัง ซึ่งอาจหาคู่สนทนาหรือช่องทางฝึกฝนได้ยากกว่าการเขียนหรืออ่าน แนะนำให้มองหาคอร์สเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เพื่อช่วยส่งเสริมทักษะการออกเสียง หรือการพูดภาษาอังกฤษได้อย่างเป็นธรรมชาติ
NOVA ONLINE มีคอร์สเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสนทนาที่รองรับผู้เรียนคนไทยโดยเฉพาะ หากคุณกำลังมองหาที่ฝึกภาษาอังกฤษที่สะดวก ง่าย ยืดหยุ่นทั้งด้านเวลาและสถานที่ สามารถกดปุ่มด้านล่างนี้เพื่อดูรายละเอียดได้เลย แล้วพบกันใหม่ในบทความน่ารู้ถัดไปนะคะ
ทำไมต้อง NOVA ONLINE ?
- สถาบันระดับ TOP ของญี่ปุ่น ปรับหลักสูตรเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ
- สอนโดย Professional Teacher คัดเลือกและอบรมอย่างดี
- พร้อมให้คำแนะนำ พัฒนาภาษาอังกฤษได้ตรงจุด
- คอร์สเรียนออนไลน์ สะดวก เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา
- เลือกคอร์สให้ตอบโจทย์ได้ตามไลฟ์สไตล์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม